วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


หอยเบี้ยลิ้นเฟมมิงโก้ The Flamingo Tongue Snail
สีสันส้มๆเหลืองๆของเจ้าหอยเบี้ยลิ้นเฟมมิงโก้นั้นดูสดใส แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นส่วนนึงของตัวมันเอง แต่เป็นเสมือนเสื้อผ้าที่ปกคลุมมันอยู่ ขนาดตัวของมันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.98-1.38 นิ้วเท่านั้นเอง เราจะพบหอยเบี้ยลิ้นเฟมมิงโก้ได้ที่มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลคาริบเบียน

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

ปลาแองเกลอร์ The Angler Fish
Angler Fish เป็นปลาที่น่าจะเรียกได้ว่า น่าประหลาดและน่าทึ่งมากที่สุดชนิดนึง ฝ่ายตัวเมียจะมีสีสันและรูปร่างที่ เอ่อ... น่าเกลียดน่ากลัว แตกต่างกันไป ส่วนตัวผู้นั้นจะมีขนาดเล็กมาก โดยเมื่อเทียบกับตัวเมียแล้วมันจะดูเหมือนลูกปลาเลยทีเดียว

เรื่องที่น่าทึ่งก็คือ ตัวผู้จะเข้าเกาะติดกับตัวเมียโดยจะกัดเข้าที่ตัวเมีย หลังจากนั้น ร่างของตัวผู้ก็จะค่อยๆ หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมีย ผิวหนังของมันก็จะเชื่อมกัน และระบบหมุนเวียนเลือดก็จะต่อกัน โดนกลืนกลายเป็นอวัยวะของตัวเมียไปในที่สุด โดยตัวผู้จะสูญเสียลูกตาและเครื่องในของตัวเอง คงเหลือไว้แต่อวัยวะสืบพันธุ์ โดยตัวเมียหนึ่งตัวอาจมีตัวผู้เกาะอยู่ได้มากกว่า 6 ตัว

ความประหลาดของมันยังไม่หมดเท่านี้ อวัยวะที่ใช้ล่อเหยื่อของ Angler fish นั้น จะยื่นออกมาจากกลางหัวของมันคล้ายเบ็ดตกปลา และถ้าหากเป็นตัวที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก ปราศจากแสงอาทิตย์ ส่วนนี้ก็จะส่องแสงได้ด้วย

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

ปลิงทะเล The Sea Cucumber
      เจ้าปลิงทะเลตัวหยุ่นๆนี้ เป็นสัตว์ไร้กระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็กๆ คล้ายหนวดสั้นๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว
      ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร อาหารของมันคือ อินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย โดยมันจะใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งสำหรับหลายๆคนที่ได้เห็นคลิป ก็อาจจะรู้สึกขยะแขยงเอามากๆ

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

ฉลามกอบลิน The Goblin Shark
       ฉลามกอบลินนั้นมีหน้าตาและผิวพรรณอันเป็นเอกลักษณ์ โดยมันมีสีผิวชมพูอมเทา อันเป็นผลมาจากผิวที่ค่อนข้างกึ่งใสทำให้ห็นเส้นเลือด (ซึ่งโดยทั่วไปไม่ค่อยจะมีฉลามผิวสีชมพู) ครีบหางของมันยาวไม่เป็นแฉก ปลายจมูกของมันก็ยื่นยาวอย่างเด่นชัด และที่สำคัญ เวลาที่มันจะโจมตีเหยื่อมันจะสามารถพุ่งขากรรไกรยื่นยาวออกจากปากได้ ฉลามกอบลินนั้นพบได้ในน้ำลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง โดยแหล่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บริเวณน้ำลึกโดยรอบประเทศญี่ปุ่น มันมีขนาดใหญ่ โดยสามารถยาวได้ถึง 3.3 เมตร และหนักได้ถึง 159 กิโลกรัม ฉลามกอบลินมีลักษณะขี้เกียจและเชื่องช้า เป็นการยากที่เราจะได้เห็นตัวจริงของมันเป็นๆ แม้ว่ามันจะเคยถูกจับเข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ญี่ปุ่น แต่ไม่นานมันก็ตายไป

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก

รูป 7 ตัวประหลาด ใต้ท้องทะเลลึก
ปลาอีรี


           เจ้าปลาที่มีฟันแหลมคมเต็มปากนี้ได้กลายมาเป็นปีศาจแห่งฝันร้ายตัวใหม่สำหรับเด็กๆหลังจากที่ภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่อง"Finding Nemo" เข้าฉาย (ตอนที่พ่อนีโมกับดอรี่ร่วงไปในทะเลลึกพร้อมกับหน้ากาดำน้ำและก็เจอแสงไฟจากเจ้านี้หลอกเอาอ่ะ)   เจ้าปลาหน้ากลัวนี้ล่อเหยื่อให้เข้ามาใกล้โดยใช้แสงจาก "คันเบ็ด" ที่งอกออกมาจากหัว   
เหยื่อล่อของปลาที่จริงแล้วก็คือส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียเรืองแสง

ทากทะเลสั่นประสาท


            ทากทะเลที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลนั้นมีมากมายหลายสีสันยังกะสีรุ้ง   ซึ่งสีเหล่านี้รวมถึงสีแดงเลือดพร้อมด้วยลายสีฟ้านีออนที่ทำให้เจ้ามอลลัสก์นี้ดูเหมือนกำลังลุกไหม้อยู่   ทากทะลาส่วนใหญ่นั้นเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขากรรไกรเต็มไปด้วยฟันแหลมๆเรียกว่า เรดุลล่า   ฟันเหล่านี้ถูกใช้เพื่อแทะเอาเนื้อออกมาจากปลาโชคร้ายที่ว่ายน้ำผ่านไป   ถึงแม้ว่าทากทะเลส่วนใหญ่นั้นมีความยาวน้อยกว่า 5 ซม.   บางสปีชีส์นั้นก็สามารถยาวได้ถึง 30.5 ซม


1. ปลาขวาน (Hatchet Fish)
       เเค่ดูหน้าก็รู้เเล้วว่ามันไม่ธรรมดา ปลาขวานนี้เป็นปลาขนาดเล็กไม่มีอันตราย ตัวที่ใหญ่ทีสุดนั้นมีขนาดเเค่ 12
เซนติเมตร เเต่หน้าตาของมันนั้นน่ะฝันร้ายเลยล่ะ ปลาขวานเป็นปลาน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน อาหารของมันนั้นคือสัตว์น้ำลึกที่ตัวเล็กกว่ามัน








       2. ปลาบร็อบ (Blobfish)
     เป็น ปลาน้ำลึก ที่พบในน่านน้ำ ออสเตรเลีย (Australia) และ แทสมาเนีย (Tasmania) เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยทำได้ยาก จึงไม่ค่อยมีผู้พบเห็นมากนัก แต่จะถูกพบในระดับความลึกที่มีแรงดันมากกว่าปกติ ถึง 12 เท่า ทำให้ถุงลมขาดประสิทธิภาพ เพื่อที่ปลา สามารถลอยตัวได้ ปลาจึงมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นวุ้น มีความหนาแน่น น้อยกว่าน้ำเล็กน้อย เพื่อให้สามารถลอยตัวเหนือพื้นทะเล โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดในการลอยตัว และว่ายน้ำ จึงทำให้ปลาบร็อบ ไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ และข้อดีอย่างแรกก็คือมันสามารถทิ้งตัวลงมาจับเหยื่อจากด้านบนจึงเป็นการดีกว่าจะเข้า จู่โจมจากด้านหน้า จึงอาดจะได้รับอันตรายจากการที่เหยื่อต่อสู้








หอยทากยักษ์แอฟริกา (Gian Africa Snail)


หอยทากยักษ์แอฟริกา (Gian Africa Snail) เป็นหอยหอยทากบก ขนาดที่ใหญ่ที่สุดน้ำหนัก 900 กรัม ความยาววัดจากหางถึงปลายจมูก 39.3 เซนติเมตร และเฉพาะเปลือกมีขนาด 27.3 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบร้อน เช่น อินเดีย และในประเทศไทยก็แพร่พันธุ์จำนวนมากแถวภาคใต้
หอยชนิดนี้จะชอบอากาศค่อนข้างชื้น ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถกินพืชได้กว่า 100 ชนิดเมื่ออายุ 5 ถึง 8 เดือน มันจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ หรือขอนไม้ที่ผุหรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งจะวางไข่ได้ปีละประมาณ1,000 ฟอง...และมันจะมีอายุเฉลี่ยยืนถึง 5 ปี
ในช่วงฤดูฝนมันจะกินอาหารได้มากและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่พอถึงฤดูแล้งมันก็จะหดตัวเข้าอยู่ในเปลือก แล้วสร้างแผ่นสีขาวบาง (epiphragm) ปิดไว้ เป็นการพักตัวและอยู่ได้นานตลอดฤดูกาล...คล้ายกับจำศีล
 มัยสงครามโลก ทหารเยอรมันเอาหอยทากยักษ์แอฟริกานี้มาทำเป็นอาหาร ก็คงจะเป็นจริงอย่างนั้นจึงได้มีการบันทึก ยืนยันการเป็นอาหาร ว่า...ประเทศไต้หวันมีการนำหอยทากยักษ์แอฟริกานี้แช่แข็ง

ไส้เดือนยักษ์คินาบาลู (Kinabalu giant earthworm) 




           เป็นสัตว์จำพวก Annelid มีสีเทาออกน้ำเงิน พบได้เฉพาะแถบยอดเขาคินาบาลูบนเกาะบอร์เนียวเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวราว 70 ซม. อาศัยอยู่ในโพรงในดินที่หนานุ่มบนระดับความสูง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผิวหนังปกคลุมด้วยขนขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้ผิวเป็นเงามันสีเหลือบออกเขียว ศัตรูนักล่าตามธรรมชาติของไส้เดือนชนิดนี้คือ ปลิงแดงยักษ์คินาบาลู ซึ่งเป็น
annelid ขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง สัตว์ทั้งสองชนิดนี้พบเห็นได้เฉพาะเวลาฝนตกหนักหรือหลังฝน
หยุดตกไม่นาน
  

จระเข้น้ำจืด

         
           จระเข้น้ำจืด หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย หรือ จระเข้บึง (อังกฤษ: Freshwater หรือ Siamese Crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไทย, กาลิมันตัน, ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3 - 4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10 - 12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20 - 48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68 - 85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว
         จระเข้น้ำจืด โดยปกติจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะเทือกเขาคาร์ดามอน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง 3 ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัว ที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมาก  สถานะในอนุสัญญาของไซเตส ได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำ     จืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)
          ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากได้ถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไป เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


ปลาปิรันยา

              ปลาปิรันยา (อังกฤษPiranhaเป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidaeโดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล PristobryconPygocentrusPygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิด ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปลาปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม
          ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน และแม่น้ำหลายสายในทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มแข็งแรง ใช้สำหรับกัดกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่เป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่ตื่นตระหนกตกใจ หรืออยู่ในภาวะอ่อนแอบาดเจ็บ เสียงตูมตามของน้ำที่กระเพื่อม จะดึงดูดปลาปิรันยาเข้ามาอย่างว่องไว ซึ่งปลาปิรันยาจะใช้ฟันที่แหลมคมกัดกินเนื้อของสัตว์ใหญ่จนทะลุไปถึงกระดูกสันหลังได้เพียงไม่กี่นาที ความดุร้ายของปลาปิรันยาแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด แต่เชื่อว่าปลาปิรันยาทุกชนิดสามารถตรวจจับกลิ่นเลือดในน้ำแม้เพียง 50 แกลลอน เหมือนกับปลาฉลาม

          ในปลายทศวรรษที่ 70 ที่บราซิล มีอุบัติเหตุรถบัสที่วิ่งไปมาระหว่างเมือง เกิดอุบัติเหตุจมลงในแม่น้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำอเมซอน หลายชั่วโมงผ่านไปกว่าที่หน่วยกู้ภัยจะกว้านซากรถขึ้นมาได้ มีผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ในรถออกมาไม่ได้ทั้งหมด 39 ราย และส่วนใหญ่ปรากฏว่าศพของผู้เสียชีวิตถูกปลาปิรันยากัดแทะจนแทบไม่เหลือสภาพดั้งเดิม หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงเด็กทารก และเด็กผู้หญิง ครอบครัวเดียวกันด้วย  นอกจากนี้แล้วในปี ค.ศ. 2012 มีผู้ชายคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในแม่น้ำยาตา ทางตอนเหนือของโบลิเวีย แต่สภาพศพของเขา ปรากฏว่าส่วนใบหน้าถูกกัดแทะจนหายไปหมด โดยปลากัดแทะที่บริเวณใบหน้าอย่างเดียว และไม่โจมตีเข้าที่ศีรษะ เชื่อว่าเป็นการกระทำของปลาปิรันยา

แต่อาหารโดยปกติของปลาปิรันยาแล้ว ก็คือ ปลาที่อยู่ในแม่น้ำ โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ก็เพื่อหลีกเลี่ยงสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ ที่กินปลาปิรันยาเป็นอาหาร เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas), นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis), โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensisและนกกินปลาอีกหลายชนิด รวมถึงปลาปิรันยาเองก็เป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวพื้นบ้านอเมซอนด้วย
          ปลาปิรันยาจัดเป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereriบางประเทศ เช่นประเทศไทย ห้ามนำเข้าตัวที่ยังมีชีวิต เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนมีความผิดตาม พระราชบัญญัติการประมงมาตรา 53 และมีโทษตามมาตรา 67 ทวิ คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกิน ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

                                            

ปลาปิรันยาทอดกับมะนาว อาหารพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำอเมซอน   
            แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ส่วนประเทศไทย ถ้านำเข้ามาในรูปอาหารแช่แข็ง เช่น ปลาปิรันยาแช่แข็ง เพื่อนำมาบริโภคอย่างเช่น ร้านอาหาร หรือภัตตาคาร ก็สามารถนำเข้ามาได้ไม่ผิดกฎหมาย
ปลาปิรันยา วางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน ปลายฤดูร้อน ในแหล่งน้ำตื้น ๆ ใกล้ชายฝั่ง โดยจะวางไข่ไว้ติดกับกอของพืชน้ำ โดยมีปลาตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่ ซึ่งหากมีสัตว์หรือมนุษย์มาคุกคาม แม้จะโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็จะถูกปลาปิรันยาเข้าทำร้าย
            ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomumและ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomusเป็นต้น จากชื่อเสียงที่โด่งดังในเรื่องความดุร้ายและทำร้ายมนุษย์ได้ ทำให้ได้มีการอ้างอิงถึงปลาปิรันยาในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ มากมาย เช่น การ์ตูนญี่ปุ่น หรือภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะของฮอลลีวู้ด เช่น เจมส์ บอนด์ ตอน You Only Live Twice ในปี ค.ศ. 1967 หรือ Piranha 3D ในปี ค.ศ. 2010 และPiranha 3DD ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นภาพยนตร์สามมิติ เป็นต้น