วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


ปลาปิรันยา

              ปลาปิรันยา (อังกฤษPiranhaเป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidaeโดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล PristobryconPygocentrusPygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิด ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปลาปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม
          ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน และแม่น้ำหลายสายในทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มแข็งแรง ใช้สำหรับกัดกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่เป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่ตื่นตระหนกตกใจ หรืออยู่ในภาวะอ่อนแอบาดเจ็บ เสียงตูมตามของน้ำที่กระเพื่อม จะดึงดูดปลาปิรันยาเข้ามาอย่างว่องไว ซึ่งปลาปิรันยาจะใช้ฟันที่แหลมคมกัดกินเนื้อของสัตว์ใหญ่จนทะลุไปถึงกระดูกสันหลังได้เพียงไม่กี่นาที ความดุร้ายของปลาปิรันยาแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด แต่เชื่อว่าปลาปิรันยาทุกชนิดสามารถตรวจจับกลิ่นเลือดในน้ำแม้เพียง 50 แกลลอน เหมือนกับปลาฉลาม

          ในปลายทศวรรษที่ 70 ที่บราซิล มีอุบัติเหตุรถบัสที่วิ่งไปมาระหว่างเมือง เกิดอุบัติเหตุจมลงในแม่น้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำอเมซอน หลายชั่วโมงผ่านไปกว่าที่หน่วยกู้ภัยจะกว้านซากรถขึ้นมาได้ มีผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ในรถออกมาไม่ได้ทั้งหมด 39 ราย และส่วนใหญ่ปรากฏว่าศพของผู้เสียชีวิตถูกปลาปิรันยากัดแทะจนแทบไม่เหลือสภาพดั้งเดิม หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงเด็กทารก และเด็กผู้หญิง ครอบครัวเดียวกันด้วย  นอกจากนี้แล้วในปี ค.ศ. 2012 มีผู้ชายคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในแม่น้ำยาตา ทางตอนเหนือของโบลิเวีย แต่สภาพศพของเขา ปรากฏว่าส่วนใบหน้าถูกกัดแทะจนหายไปหมด โดยปลากัดแทะที่บริเวณใบหน้าอย่างเดียว และไม่โจมตีเข้าที่ศีรษะ เชื่อว่าเป็นการกระทำของปลาปิรันยา

แต่อาหารโดยปกติของปลาปิรันยาแล้ว ก็คือ ปลาที่อยู่ในแม่น้ำ โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ก็เพื่อหลีกเลี่ยงสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ ที่กินปลาปิรันยาเป็นอาหาร เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas), นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis), โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensisและนกกินปลาอีกหลายชนิด รวมถึงปลาปิรันยาเองก็เป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวพื้นบ้านอเมซอนด้วย
          ปลาปิรันยาจัดเป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereriบางประเทศ เช่นประเทศไทย ห้ามนำเข้าตัวที่ยังมีชีวิต เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนมีความผิดตาม พระราชบัญญัติการประมงมาตรา 53 และมีโทษตามมาตรา 67 ทวิ คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกิน ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

                                            

ปลาปิรันยาทอดกับมะนาว อาหารพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำอเมซอน   
            แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ส่วนประเทศไทย ถ้านำเข้ามาในรูปอาหารแช่แข็ง เช่น ปลาปิรันยาแช่แข็ง เพื่อนำมาบริโภคอย่างเช่น ร้านอาหาร หรือภัตตาคาร ก็สามารถนำเข้ามาได้ไม่ผิดกฎหมาย
ปลาปิรันยา วางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน ปลายฤดูร้อน ในแหล่งน้ำตื้น ๆ ใกล้ชายฝั่ง โดยจะวางไข่ไว้ติดกับกอของพืชน้ำ โดยมีปลาตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่ ซึ่งหากมีสัตว์หรือมนุษย์มาคุกคาม แม้จะโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็จะถูกปลาปิรันยาเข้าทำร้าย
            ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomumและ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomusเป็นต้น จากชื่อเสียงที่โด่งดังในเรื่องความดุร้ายและทำร้ายมนุษย์ได้ ทำให้ได้มีการอ้างอิงถึงปลาปิรันยาในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ มากมาย เช่น การ์ตูนญี่ปุ่น หรือภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะของฮอลลีวู้ด เช่น เจมส์ บอนด์ ตอน You Only Live Twice ในปี ค.ศ. 1967 หรือ Piranha 3D ในปี ค.ศ. 2010 และPiranha 3DD ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นภาพยนตร์สามมิติ เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น